วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

ให้นักศึกษาสมัครใช้งาน บอกรูปแบบการใช้งาน และบอกข้อดีและข้อจำกัดของSocialMediaต่อไปนี้
1. twitter  2. instagram 3. youtube  4. facebook 5. twoo  6. xing 7. renren  8. vine

1.Twitter
การใช้งานทวิตเตอร์ (Twitter) เริ่มต้น เราจำเป็นต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยสามารถใช้อีเมลเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ดังนั้นเราสามารถไปสมัครเพื่อขอใช้บริการอีเมลฟรีก่อนได้ เช่น Yahoo Mail, Gmail, Hotmail เป็นต้น และสิ่งสำคัญข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการสมัคร ควรเป็นชื่อจริง ทั้งนี้ เพื่อให้คนอื่นๆ สามารถเข้ามาติดตามคุณได้ว่า "คุณกำลังทำอะไรอยู่"

1.       สมัค


2.       การใช้งาน


ข้อดี ของTwitter
         
1. ทวิตเตอร์สามารถแชร์ข้อมูลข่าวสาร รูปภาพได้รวดเร็ว เพียงแค่ทวิตข้อความ Follower ของคุณก็จะทราบทันที
         
2. ผู้ใช้สามารถอัพเดตเหตุการณ์ที่กำลังเป็นประเด็นที่ชาวทวิตเตอร์กำลังพูดถึงได้โดยดูจาก Trending เช่น การติดแท็กไว้อาลัยให้เนลสัน แมนเดลล่า โดยใช้แท็ก #RIPNelson Mandela และยังมีอีกแท็กศิลปินเกาหลีสุดฮอทของวันนี้คือ #SuperJuniorTheLastManStanding
         
3. สามารถแบ่งปันทวิตที่เราชอบและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้โดยการรีทวิต
         
4. ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่ที่แสดงความเป็นตัวเอง โดยจะทวิตบ่นหรือแชร์เรื่องราวอะไรก็ได้ 
         
5. การอ่านข่าวในทวิตเตอร์จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่และยังได้รับรู้้ความคิดเห็นของผู้ที่ใช้ทวิตเตอร์คนอื่นๆ
ข้อจำกัด
          1. การรีทวิตข่าวสารที่ไม่มีที่มาหรือไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้
          2. หากทวิตข้อความหรือรีทวิตมากเกินไป อาจทำให้ฟอลโลเวอร์รำคาญได้

          3. ทวิตเตอร์นั้นเป็นไมโครบล็อก ซึ่งสามารถทวิตข้อความได้ไม่เกิน140 ตัวอักษร หากผู้ใช้ต้องการ
ทวิตข้อความมากกว่า
140 ตัวอักษรจะต้องใช้ tweetlonger หรือ twiffo
          4. ถ้าผู้ใช้ทวิตข้อความหลายข้อความและรีทวิตอีกจำนวนมากจะประสบปัญหาติดลิมิต ซึ่งก็จะ
ทวิตและรีทวิตไม่ได้ไปชั่วคราว
Instagram เป็นวิธีที่ฟรีและง่ายในการแบ่งปันชีวิตของคุณและให้ทันกับคนอื่น ๆ

2. instagram
instagramg เป็นApplication ที่รองรับการถ่ายภาพหรือวิดีโอจากนั้นปรับแต่งด้วยตัวกรองและเครื่องมือที่สร้างสรรค์ โพสต์บน Instagram และแบ่งปันได้ทันทีบน Facebook, Twitter, Tumblr และอื่น ๆ หรือส่งโดยตรงเป็นข้อความส่วนตัว หาคนที่จะปฏิบัติตามขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจ
   
ข้อดี
          1. ระบบการแชร์ ที่เชื่อมโยงไปยังโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คได้รับความนิยมอยู่แล้ว เช่น เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, 4 สแควร์ แค่อัพโหลดรูปเพื่อนๆ ในเครือข่ายเหล่านี้ก็ได้เห็นไปด้วย
          2. การคอมเมนต์และกดไลค์ หรือ Tag สถานที่ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เพราะใกล้เคียงกับเฟซบุ๊ก
ฟิลเตอร์ที่หลากหลาย ใช้งานง่าย และมีเอกลักษณ์ที่ภาพเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบ 3 ต่อ 3 สไตล์ย้อนยุค
          3. ถ่ายภาพและแต่งภาพด้วยด้วย Filters (ฟิลเตอร์) หลากสีสัน 20 แบบ
          4. อัพโหลดรูปภาพได้ไม่จำกัด
          5. มีระบบ Followers และ Following เลือกติดตามบุคคลที่ต้องการได้
ข้อจำกัด
          1.ต้องเป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดคงที่เท่านั้น ซึ่งต้องถ่ายจาก instagram ไม่งั้นต้อง crop หรือใช้แอพย่อภาพให้เป็นจัตุรัส มันทำให้ดูเล็กแปลกๆไม่สวย
          2.คลิ้กเพื่อดูรูปใหญ่ไม่ได้ ไม่เหมือน facebook twitter google+ tumblr
          3.ต้องโพสท์จากโทรศัพท์เท่านั้น บางทีต้องการเล่นในคอมพิวเตอร์ก็เล่นไม่ได้

3.ยูทูบ (YouTube)
          เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอผ่านทางเว็บไซต์
ข้อดี
         
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ข้อมูลต่างๆซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น การสอนการแต่งหน้า ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำความเข้าใจยาก ถ้าศึกษาจากหนังสือหรือนิตยสาร เราก็ไม่สามารถเห็นการลงมือปฏิบัติแต่งหน้าที่ชัดเจน เช่นการเลือกสี การลงสี และน้ำหนักหนัก-เบา แต่การศึกษาจาก youtube เราสามารถทำความเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
         
2. เป็นแหล่งรวมความบันเทิง เช่น เพลง มิวสิควิดีโอ เป็นต้น
         
3. ฝากไฟล์ VDO จากเครื่องคอมพิวเตอร์
         
4. ฟรีเว็บไซต์ที่สามารถเก็บไฟล์ vdo บนเว็บ
ข้อจำกัด
1. log in หลายๆ accounts ไม่ได้
2. การ
upload VDO ต่างๆ ต้องดูเรื่องลิขสิทธิ์

4.Facebook
Facebook เป็นอีกหนึ่งเว็บในสังคม  Social Networking ที่เปิดให้ทุกๆ คนได้ร่วมเข้ามาแบ่งปันความคิดเห็นรวมถึงการเสนอ  ความคิดและตัวเองให้ได้รู้จักกันในสังคมหนึ่ง  ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการหาเพื่อนเพื่อพูดคุยและแสดงตนเองในรูปแบบหนึ่ง  สามารถที่จะอับโดหลดรูปลงไป  สามารถที่จะสนทนากันพร้อมทั้งหากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น  สำหรับ Facebook นั้นได้กำเนิดโดย Mr. Mark  Zuckerburg  กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย  มีแนวคิดที่จะแนะนำตัวเองโดยการเขียนหนังสือแล้วทำการส่งต่อๆ  กันไป  จากนั้นก็มาเป็นแนวคิดให้เกิดบนโลกออนไลน์   มาเป็น Facebook อย่างที่เราได้เล่นกันอยู่  เราสามารถใช้งานได้โดยการสมัครเป็นสมาชิก
ให้ทำการกรอกข้อมูลส่วนตัว อย่างเช่น ชื่อ นามสกุล อีเมล์ รหัสผ่าน เพศและก็วันเดือนปีเกิด  แล้วคลิกที่ Sing Up เพื่อลงทะเบียน

หน้าต่างของ facebook

ข้อดี
          1.
FaceBook จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
          2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
          3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
          4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
          5.
FaceBook เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
          6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้

ข้อจำกัด
          1.
FaceBook เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
          2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง
Wall ของ FaceBook ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
          3.
Facebook อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
          4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
          5.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น FaceBook ตั้งแต่ยังเด็ก

5.Two
ข้อดี
1. Twoo เป็นวิธีการที่สนุกสนานที่สุดในการพบปะผู้คนใหม่ๆในพื้นที่ของคุณผู้คนนับล้าน
2. สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น
3. สามารถค้นหา แชร์ เล่นเกม ได้อย่างสนุกสนาน
ข้อจำกัด
ยังไม่เป็นที่นิยมของคนทั่วไปมากนัก

6.Xing

ข้อดี
          1. ค้นหาคนงานและกลุ่ม
         
2. บริการมือถือรายละเอียดการติดต่อในปัจจุบัน
          3. คำแนะนำงานที่ตรงกับโปรไฟล์ของคุณ
          4. ได้รับข่าวสารล่าสุดจากอุตสาหกรรมของคุณ
ข้อจำกัด
          1. มีการใช้งานเฉพาะกลุ่ม
         
2. ยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับคนใช้งานทั่วไป

7.Renren
          ลักษณะของเว็บ Renren.com ก็มีทุกอย่างๆ ที่ Facebook มี เช่นการอัพเดท status การแชร์ภาพถ่าย จนถึงการกด like มีรายงานข่าวว่าการเข้ามาในตลาดหุ้นของ Renren นี้ทำให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนกับธุรกิจเว็บในจีนมีโอกาสมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก Facebook และ Twitter ยังคงถูกแบนในประเทศจีนอยู่ขณะนี้

ข้อดี
1. เป็นสื่อ SocialMedia ที่สามารถแชร์ แลกดปลี่ยนข้อมูล ต่างๆ ได้เหมือนกับ Facebook
2. ง่ายต่อการติดต่อสื่อสาร
3. ใช้งานง่าย ในประเทศจีน
ข้อจำกัด
1. เป็นภาษาจีน
2. ยังคงเป็นแบนของประเทศจีน ไม่มีภาษาอื่น

8.Vine
         
Vine (อ่านว่า ไวน์) เป็นสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นมาภายในบริษัทเดียวกับ Twitter เกิดมาเพื่อตอบสนองความไม่เพียงพอต่อ 140 ตัวอักษร Vine จึงทำหน้าที่ช่วยถ่ายวิดีโอสั้นๆ ภายใน 6 วินาทีแล้วทำการแชร์ใน Twitter ได้ทันทีนั่นเอง เพราะภายใน 6 วินาที คุณสามารถเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างกระชับพอๆ กับการทวิต 140 ตัวอักษรนั่นเอง ซึ่งการใช้ Vine ในส่วนอัดวิดีโอจำเป็นต้องใช้งานผ่านแอพมือถือก่อน แต่การดูคลิปนั้นสามารถดูผ่านแอพหรือผ่านหน้าเว็บได้เลย


ข้อดี
          1. ส่งได้ทั้งข้อความที่เป็น text และ video
          2. ส่งข้อความหาคนอื่นได้แม้ว่าคนๆนั้นจะไม่ได้ใช้งาน Vine
          3. ใช้ feature อย่าง Vine Video Production เช่น stop motion หรือ ใส่ grid line
ข้อจำกัด
          1. ไม่สามารถสร้างกลุ่มเพื่อคุยแบบเป็นกลุ่มๆได้ (cannot create group message)
          2. ไม่สามารถส่งภาพนิ่ง หรือ รูปถ่ายให้ผู้อื่นได้ (ส่งได้แค่ text หรือ video เท่านั้น)












1 ความคิดเห็น: